ชื่อร้านค้า พระเครื่องภูธนรินทร ฯ พระเครื่องสะท้านแผ่นดิน

พระลือโขง กรุสันกู่เกล็ก

สุดยอด อีกรายการครับ หายากกว่าพระรอด "พระลือโขง หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระจามเทวีซุ้มเรือนแก้ว นับเป็นพระสกุลลำพูนอีกพิมพ์หนึ่งที่น่าสนใจศึกษาในความเก่าแก่และพุทธศิลปะอันงดงาม มีพุทธคุณเป็นเลิศในด้านโชคลาภ ได้รับความนิยมสูงเรียกได้ว่ารองๆ จากพระรอดเลยทีเดียว แต่มีจำนวนน้อยมาก" พระลือโขง ขุดค้นพบในปี พ.ศ.2522 ที่บริเวณเนินดินในวัดกู่เหล็ก จ.ลำพูน ซึ่งอยู่ห่างไปจากวัดประตูลี้เล็กน้อย เมื่อพิจารณาความเก่าแก่ของเนื้อองค์พระ ประมาณการอายุการสร้างอยู่ในคราวเดียวกับพระรอด พระคง เป็นพระเนื้อดินเผาสีเหลืองและสีเขียว เป็นเนื้อดินที่ละเอียดมีกรวดผสมอยู่เล็กน้อย ทำให้สามารถรักษาสภาพองค์พระไว้ได้เกือบ 80% มีขนาดเขื่องกว่าพระคง เป็นพระที่มีพุทธศิลปะโดดเด่นที่สุดในพระสกุลลำพูน มีความวิจิตรงดงามและความประณีตในฝีมือการสร้าง ทั้งองค์พระประธาน ซุ้มเรือนแก้ว และพิมพ์ทรงห้าเหลี่ยม แสดงถึงความมั่นคงและความสมบูรณ์พูนสุข สมกับพุทธคุณที่ปรากฏ พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานบัว 2 ชั้น ในซุ้มเรือนแก้วประภามณฑล ซึ่งตกแต่งด้วยลายเส้นคู่หยักเป็นลอนและม้วนเป็นลายกนกก้านขดอย่างสวยงาม ต่อด้วยเส้นขีดรัศมี ด้านบนประดับด้วยใบระกาอีก 2 ชั้นอย่างอลังการเป็นพิเศษ ตามคตินิยมที่ทำใกล้เคียงกับซุ้มโขงที่ปรากฏอยู่รอบธรรมสิคาสถูป ที่พระเจ้าอลองสิทธิ์ธู สร้างขึ้นในกรุงพุกาม เมื่อปี พ.ศ.1739 เป็นแบบอย่างศิลปะมอญและพุทธศาสนานิกายคามวาสีในพุกาม ซึ่งแผ่มาถึงเมืองหริภุญไชย แต่รูปแบบโดยรวมยังคงรูปแบบของสมัยปาละผ่านทางศิลปะพุกามในช่วงเวลาที่ศิลปะในหริภุญไชยและพระพุทธศาสนานิกายหินยานเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในขณะนั้น พระเศียรเป็นเศียรโล้น ปรากฏเม็ดพระศกชัดเจน แสดงแนวไรพระศกอย่างงดงาม พระพักตร์มีลักษณะแป้น พระปรางอิ่มที่เรียกว่า “แก้มยุ้ย”โดยรวมจะแลดูคล้ายหญิงแก่ พระเนตรแบบตามนุษย์ พระนาสิก โด่งพองามคล้ายมนุษย์ พระโอษฐ์ไม่กว้าง และยื่นออกเล็กน้อยคล้ายปากสตรี พระกรรณเป็นเส้นนูนคู่ โค้งติดแก้มและตวัดออกตอนปลายติ่งหู พระอุระนูน พระนาภีกลมกลึงแบบเอวนาง ครองจีวรแบบห่มดอง ปรากฏเส้นสังฆาฏิ 2 เส้นชัดเจนอ่อนช้อย และแสดงเส้นแสงการห่มจีวรตลอดลำพระองค์ได้คมและชัดเจน และพระหัตถ์ขวาแสดงนิ้วพระหัตถ์ชัดเจนทั้ง 5 นิ้ว พระลือโขง นับเป็นพระพิมพ์ที่มีความวิจิตรงดงามในด้านพุทธศิลปะสูงส่ง สมกับเป็นพระแห่งโชคลาภโดยแท้ - ขออนุญาตที่มาข้อมูล -

โดย Putanarinton - เมื่อ 30 เมษายน 2564
  ชอบ 1  /  เข้าชม 866  /  ความคิดเห็น 0
ดูข้อมูลต่อ

 แสดงความคิดเห็น


(รองรับไฟล์รูปภาพนามสกุล .jpg, .png, .gif)